แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๔ – ตอนที่ ๑

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๔ - ตอนที่ ๑

อ่านบทประพันธ์เหล่านี้แล้วตอบคำถาม ข้อ ๑ – ๓

เคยพรํ่าวาจาหาเสียง
เพื่อเพียงได้เป็น ส.ส.
พัฒนาทั้งหลายจงรอ
คุยจ้อหลั่งรินลิ้นรัว
คราวหลังเมื่อพบประชาชน
อับจนคำตอบชอบมั่ว
อ้างโน่นอ้างนั่นพันพัว
ถามหัวตอบหางบิดเบือน
(นภดล จันทร์เพ็ญ)

๑. การกระทำดังกล่าวตรงกับสำนวนใด
๒. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
๓. ผู้เขียนมีนํ้าเสียงอย่างไร

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๔ – ๗
ไปไหนมาไหนเราจะได้ยินเสียงวิพากษ์วิจารณ์อยู่เนือง ๆ ว่าสังคมไทยกำลังเป็นสังคมที่มีปัญหา
คนไทยขาดศีลธรรมกันมากขึ้น โหดเหี้ยมทารุณขึ้น เอารัดเอาเปรียบมากขึ้น ขาดเมตตาธรรม ชอบข่มเหงรังแกคนอื่น ฯลฯ
อย่าว่าแต่ศีลธรรมที่ลึกซึ้งอะไรเลย แค่ศีลง่าย ๆ อย่างศีล ๕ ก็แทบจะไม่ได้รับการประพฤติปฏิบัติจากคนไทยเสียแล้ว
สำหรับสาเหตุที่ทำให้สังคมไทยเราเปลี่ยนแปลงไปมากมายขนาดนี้ ก็มีการวิเคราะห์ให้เหตุให้ผลเอาไว้หลายข้อ
บ้างก็ว่าเป็นเพราะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและไร้ขอบเขตนั่นแหละ ที่ทำให้คนไทยเปลี่ยนไป
บ้างก็ว่าเป็นเพราะเราเลิกสอนวิชาศีลธรรมในโรงเรียนไปน่ะซี มันถึงได้เป็นอย่างนี้
บางรายโทษไปถึงพระสงฆ์องคเจ้าที่ไม่ประพฤติปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด เป็นเหตุหลักให้คนหนีวัดไปหมด
ซึ่งพอห่างวัดหรือหนีวัดเสียแล้ว ศีลธรรมก็พลอยหนีไปจากใจของคนไทยเราด้วย
ครับ! ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางตัวอย่างเท่านั้น เพราะหากหยิบยกมาหมดคงไม่มีเนื้อที่จะเขียนถึง

๔. สิ่งใดที่ผู้เขียนไม่ได้ระบุไว้ในข้อความนี้
๕. ข้อมูลที่ผู้เขียนนำมากล่าวในข้อความนี้เป็นข้อมูลที่ได้มาโดยวิธีใด
๖. ข้อใดเป็นวิธีการเขียนที่ไม่ได้ปรากฏในข้อความนี้
๗. ข้อใดตรงกับบุคลิกภาพของผู้เขียนมากที่สุด

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ ๘ – ๙
“ภาษาไทยเป็นขุมคลังแห่งภูมิปัญญาของคนไทยทั้งชาติ
เป็นเอกลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ของอารยธรรมไทยที่โดดเด่นมาอย่างยาวนาน
แต่ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าภาษาไทยกำลังถูกลืมจากคนรุ่นใหม่
ดัชนีชี้วัดที่สำคัญประการหนึ่งก็คือผลสัมฤทธิ์ด้านการใช้ภาษาไทยของเด็กเยาวชน
นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ล้วนตกตํ่าลงมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
และเป็นการตกตํ่าลงอย่างต่อเนื่องจนน่าสังเกตเป็นพิเศษด้วยในรอบหลายปีที่ผ่านมา
นอกจากนั้นแล้ว การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ก็มีให้เห็นอยู่อย่างมากมายทั้งในสื่อมวลชน
ในรัฐสภา ในเพลง ในละครโทรทัศน์และในภาพยนตร์
รวมทั้งในวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยเราเองที่ไม่สู้จะให้ความสำคัญกับการเขียน การพูด การสื่อสารให้ถูกต้อง
รวมทั้งไม่มีค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ที่ถูกต้องด้วย”
(ว.วชิรเมธี)

๘. ความคิดหลักของผู้เขียนตรงกับข้อใด
๙. เจตนาของผู้เขียนตรงกับข้อใด

“ในบ้านเมืองของเรา ทางการชักชวนให้ประหยัดแบบคนเป็นโรคชักกระตุก
นาน ๆ ก็ฮือฮากันคราวหนึ่งแล้วก็รากันไป การชักชวน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการใช้ให้พอควร
คนไทยมีสำนวนว่า มีน้อยใช้น้อยค่อยบรจง ทำให้คิดว่ามีมาก ก็ใช้มากได้ไม่ต้องระวัง
ซึ่งน่าจะพลาดเป้าของการชวนให้ประหยัด”
(สมศรี สุกุมลนันท์)

๑๐. จากข้อความดังกล่าว การกระทำของทางการเพื่อชักชวนให้ประหยัด น่าจะตรงกับสำนวนใด
กรอกรายละเอียดด้านล่างเพื่อดูคะแนนที่ทำได้

 

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๔ – ตอนที่ ๒
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๔ – ตอนที่ ๓

กลับหน้าหลัก แบบฝึกหัดท้ายบทที่ ๔

Comments are closed